การคำนวณหาปริมาณเหล็กเสริมและโมเมนต์ที่จุดสมดุล
ACI318 ให้การกระจายหน่วยแรงอัดในคอนกรีตที่ไม่เป็นเชิงเส้นเป็นเชิงเส้นในรูปของ หน่วยแรงเทียบเท่าสี่เหลี่ยมผืนผ้า (Rectangular Stress Block) ซึ่งมีค่าเท่ากับ $0.85f’_c$ ตลอดความลึก $a$ แทนการกระจายของหน่วยแรงที่เกิดขึ้นจริง โดยที่ $a = \beta_1c$ ดังแสดงในรูปที่ 6
โดยที่
$\beta_1 = 0.85$
$\beta_1 = 0.85 – 0.05(\frac{f’_c-280}{70}) \geq 0.65$
เมื่อ $f’_c \leq 280 ksc$
เมื่อ $f’_c > 280 ksc$
แต่ทั้งนี้ $\beta_1$ ต้องมีค่าไม่ต่ำว่า 0.65
รูปที่ 6 ประมาณหน่วยแรงอัดไม่เชิงเส้นเป็นเชิงเส้น
การวิบัติที่จุดสมดุลก็คือ การวิบัติขณะที่ค่าความเครียดของคอนกรีตและเหล็กเสริมถึงจุดสูดพร้อมกันพอดี
นั่นคือ $\varepsilon_c = \varepsilon_{cu} = 0.003 mm./mm.$ และ $\varepsilon_s = \varepsilon_y$ ในเวลาเดียวกันพอดี ซึ่งจะได้หน้าตากราฟดังนี้
รูปที่ 7 กราฟ ความเครียด หน่วยแรง และแรง ของหน้าตัด
จากรูปที่ 7 (ข) จะได้สมการสามเหลี่ยมคล้ายดังนี้
$\varepsilon_{cu}/\varepsilon_y = c/(d-c)$ ….. (1)
แทน $\varepsilon_{cu} = 0.003$ และ $\varepsilon_y = f_y/E_s$ เมื่อ $E_s = 2.04×10^6 ksc$ จะได้
$c = (\frac{6120}{6120+f_y})d$ ….. (2)
จากความสัมพันธ์ของการกระจายตัวของแรงอัดและแรงอัดในรูปที่ 7(ค) และ (ง) จะได้สมการดังนี้
$C=0.85f’_cab = 0.85f’_c\beta_1cb$ ….. (3)
ในขณะที่แรงดึงในเหล็กเสริมเท่ากับ
$T = A_sf_y$ ….. (4)
จากสมดุลของหน้าตัด แรงอัดเท่ากับแรงดึง จะได้
$C = T$
$0.85f’_c\beta_1cb = A_sf_y$
จัดรูปใหม่ จะได้
$c = A_sf_y/(0.85f’_c\beta_1b)$ ….. (5)
เมื่อนำ $d$ หารตลอดสมการที่ (5) จะได้
$c/d = A_sf_y/(0.85f’_c\beta_1bd)$
เมื่อ $\rho = A_s/(bd)$ จะจัดรูปสมการใหม่ได้ว่า
$c/d = \rho[f_y/(0.85\beta_1f’_c)]$ ….(6)
แทนค่าสมการที่ (2) ลงในสมการที่ (6) จะได้อัตราส่วนเหล็กเสริมที่ภาวะสมดุล (balanced reinforcing ratio)
$\rho = \frac{0.85f’_c}{f_y}\beta_1(\frac{6120}{6120+f_y})$ ….. (7a)
เนื่องจากการวิบัตินี้ คือ ณ ตอนที่คอนกรีตวิบัติพร้อมกับเหล็กเสริมถึงจุดครากพอดี จึงห้อยท้ายพารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่สภาวะนี้ด้วย $b$ เช่น $c_b, a_b, A_{sb}$ หรือ $\rho_b$ นั่นเอง ซึ่งจะทำให้สมการอัตราส่วนเหล็กเสริมที่ภาวะสมดุลดังนี้
$\rho_b = \frac{0.85f’_c}{f_y}\beta_1(\frac{6120}{6120+f_y})$ ….. (7b)
ซึ่งนอกจากนี้มีการทดลองและเสนอสมการอย่างง่ายในการคำนวณอัตราเสริมเหล็กที่ภาวะสมดุลไว้ดังนี้
$\rho_b =0.456(f’_c/f_y)$ ….. (7c)
สำหรับการหาโมเมนต์ก็ใช้หลักการของ โมเมนต์$=$ แรง $\times$ แขนตั้งฉาก ซึ่งสามาถหาได้จาก 2 ทางได้แก่ จากแรงอัด หรือ จากแรงดึง
- กรณีคิดโมเมนต์รอบแนวแรงดึง
$M_nb = C(d-a_b/2)$
$= 0.85f’_c\beta_1c_bb(d-\beta_1cb/2)$ ….. (8)
- กรณีคิดโมเมนต์รอบแนวแรงอัด
$M_nb = T(d-a_b/2)$
$= A_{sb}f_y(d-\beta_1c_b/2)$ ….. (9)
แต่ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้คานวิบัติแบบเปราะ มาตรฐาน ACI จึงไม่นิยมให้เสริมเหล็กเกินอัตราส่วน $\rho_b หรือหากเกินก็ต้องปรับค่าตัวคูณลดกำลัง (Strength Reduction Factor, $\phi$) ให้โครงสร้างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดย Code ACI แต่ละปีจะกำหนดค่าดังกล่าวไม่เท่ากัน
แต่ที่คนไทยคุ้นเคยที่สุดจะเป็น ACI318-99 ที่กำหนดให้อัตราส่วนเหล็กเสริมไม่เกิน 75% ของอัตราส่วนเหล็กเสริมที่ภาวะสมดุล
$\rho \leq 0.75\rho_b$