ปัจจัยที่มีผลต่อกำลังรับแรงเฉือนของคานไม่เสริมเหล็กปลอก
- กำลังรับแรงดึงของคอนกรีต (Concrete Tensile Strength)
คอนกรีตที่มีกำลังแรงดึงมากกว่า สามารถต้านทานแรงเฉือนได้มากกว่าคอนกรีตที่กำลังรับแรงดึงน้อยกว่า - อัตราส่วนเหล็กเสริมหลัก (Main Reinforcement Ratio)
คานที่มีอัตราส่วนเหล็กเสริมหลัก ($\rho_w$) มาก จะมีกำลังต้านทานแรงเฉือนมากกว่าคานที่มีอัตราส่วนเหล็กเสริมหลักน้อย - อัตราส่วนช่วงการเฉือนต่อความลึกประสิทธิผล a/d
เนื่องจาก $M/(Vd) = (M/V)/d = a/d$ - ผลกระทบเนื่องจากขนาดของคาน (Size effect)
คานที่มีความลึกประสิทธิผลมากจะมีกำลังรับแรงเฉือนน้อยกว่าคานที่มีความลึกประสิทธิผลน้อยกว่า (คานค่า d มาก รับแรงเฉือนได้น้อยกว่าคาน d น้อย) ดังแสดงในรูปที่ 5
*สมการของ ACI หรือ วสท. ไม่ได้คิดผลของ Size effect ซึ่งจะทำให้ไม่ปลอดภัยในการออกแบบแผ่นพื้นขนาดใหญ่หรือฐานรากขนาดใหญ่ที่ไม่ใส่เหล็กลูกตั้ง - ผลของแรงตามแนวแกน
กรณีแรงอัด
– เกิดรอยร้าวเอียงได้ช้าลง
– ช่วยชะลอการแพร่ของรอยร้าวเอียง
– ช่วยเพิ่มกำลังรับแรงเฉือนของคาน
กรณีรับแรงดึง
– เร่งการเกิดรอยร้าวเอียง
– เร่งการแพร่ของรอยร้าวเอียง
– ลดกำลังรับแรงเฉือนของคาน
รูป 5 กราฟแสดงกำลังการต้านทานแรงเฉือนกับความลึกประสิทธิผล