กฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 2522
        

กฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 2522 ได้กำหนดแรงลมในลักษณะแรงดันต่อหน่วยพื้นที่ที่แปรตามความสูงของอาคาร แต่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบจากปัจจัยอื่น ๆ เลย เช่น ที่ตั้งอาคารที่มีความเร็วลมเฉลี่ยไม่เท่ากันหรือลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกันที่มีผลกับแรงลม เป็นต้น โดยมีค่าหน่วยแรงลมตามตารางที่ 1 และได้กำหนดการรวมแรงลมกับน้ำหนักหนักบรรทุกอื่น ๆ ไว้ในข้อ 6 ของกฏกระทรวง ตามรูปที่ 1

ทั้งนี้กฎกระทรวงฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 2527 โดยที่ไม่เคยมีการปรับปรุงแก้ไขใด ๆ จวบจนปัจจุบัน

ตารางที่ 1 แรงลมตามกฏกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 2522
รูปที่ 1 การรวมหน่วยแรงลมกับน้ำหนักบรรทุกอื่น ๆ ตามกฎกระทรวง

ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร 2544

ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะเสมือนกฎหมายท้องถิ่น บังคับใช้ในเขตกรุงเทพมหานครและข้อบัญญัตินี้อยู่ภายใต้กฎกระทรวงอีกที โดยเนื้อหาและข้อกำหนดสามารถเข้มกว่ากฎกระทรวงได้ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่ขัดแย้งหรือมีข้อกำหนดที่อ่อนกว่ากฎกระทรวง โดยประกาศใช้เนื่องจาก กฎกระทรวงมีรายละเอียดไม่ครอบคลุมกับสภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจึงเพิ่มรายละเอียดบางอย่างเพื่อให้เหมาะสมกับสภาะบ้านเมือง เช่น มีการเพิ่มเติมแรงลมที่สูงขึ้นในส่วนของอาคารที่สูงกว่า 80 เมตร เป็นต้น

โดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครได้กำหนดแรงลมในลักษณะแรงดันต่อหน่วยพื้นที่ที่แปรตามความสูงของอาคาร แต่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบจากปัจจัยอื่น ๆ เหมือนกฎกระทรวง โดยมีค่าตามตารางที่ 2 และสำหรับการรวมแรงลมกับน้ำหนักบรรทุก ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร 2544 หมวด 10 ข้อที่ 108 ตีความหมายได้ว่าการรวมน้ำหนักให้ใช้ตามของกฎกระทรวง

ตารางที่ 2 แรงลมตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร 2544
รูปที่ 2 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ที่เกี่ยวกับน้ำหนักบรรทุก

นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอื่น ๆ ที่บังคับใช้เฉพาะเขตพื้นที่ เช่น เทศบัญญัติเทษบาลตำบลสำโรงใต้ เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2541 ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับแรงลมก็ได้อ้างอิงจากกฎกระทรวงเช่นกัน

รูปที่ 3 แรงลมตามเทศบัญญัติเทศบาลตำบลสำโรงใต้

มยผ.1311-50 มาตรฐานการคำนวณแรงลมและการตอบสนองของอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง

จะเห็นว่า ทั้งกฎกระทรวงและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนั้นแรงลมคือตัวเลขหน่วยแรงลมที่กำหนดขึ้นมา โดยไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ และยังไม่ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย ดังนั้นกรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้จัดทำมาตรฐานแรงลมให้มีความทันสมัยขึ้น มีการเก็บรวบรวมข้อมูลความเร็วลมของแต่ละพื้นที่ในประเทศไทยและปรับปรุงวิธีการคำนวณให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ทัดเทียมมาตรฐานสากล ซึ่งก็คือ ‘มยผ.1311-50 มาตรฐานการคำนวณแรงลมและการตอบสนองของอาคาร’

มาตรฐานนี้ได้ประยุกต์ข้อบังคับการออกแบบอาคารของประเทศแคนนาดา National Building Code Of Canada 2005 (NBCC 2005) เป็นต้นแบบ และได้ประยุกต์บางส่วนของข้อแนะนำเรื่องน้ำหนักบรรทุกจาก มาตรฐานประเทศญี่ปุ่น Recommendation for Loads on Building 2004  (AIJ 2004) และบางส่วนมาตรฐานประเทศสหรัฐอเมริกา (Minimum Design Loads For Building and Other Structures, ASCE7-05)  อีกทั้งยังได้ใช้การทดสอบในอุโมงค์ลมเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของมาตรฐานดังกล่าวอีกด้วย

รูปที่ 4 มยผ.1311-50 มาตรฐานการคำนวณแรงลมและการตอบสนองของอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง

By EkarajP

You missed